วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

คำชะโนด อุดรธานี

คำชะโนด อุดรธานี



 ลักษณะพื้นที่โดยรอบเป็นเกาะ มีต้นชะโนด เกิดขึ้นรวมกันอยู่ เป็นกลุ่มประมาณ 20 ไร่ เป็นต้นไม้ชนิดที่หายากมาก ในประเทศไทย
ประกอบด้วยต้นมะพร้าว ต้นหมาก และต้นตาล รวม กันเป็นต้นชะโนด ภายในป่าชะโนดยัง มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธ์อยู่ตรงกลางเกาะ เรียก ว่า บ่อคำชะโนด เป็นน้ำใต้ดินที่
พุ่งไหลซึมตลอดเวลา ทางจังหวัดได้เลือกน้ำ จากบ่อนี้ไปร่วมในพิธีสำคัญเสมอ นอก จากนี้ยังมีศาลเจ้าพ่อพระยาศรีสุท โธที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ ใน ความ
ศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างยิ่งตามเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า เป็นพญานาคราช ที่อาศัยอยู่ใน เมืองบาดาล และใช้เมืองคำชะโนดแห่งนี้ เป็นที่ขึ้นลงติดต่อระหว่างเมืองบาดาล
กับเมือง มนุษย์ และยังมีเรื่องราวของความศักดิ์สิทธิ์น่าศจรรย์ของสถานที่นี้ ให้เป็นที่เล่า ขานแก่ชาวเมืองคำชะโนดได้ 2 เส้นทาง คือเส้นทางสายอุดร-หนองคาย เลี้ยว
ขวาตรง ทางแยกบ้านนาข่า ตามทางหลวงหมายเลข 2255ถึงสามแยกบ้านสุมเส้าแล้ว เลี้ยวขวา ไป อ. บ้านดุงต่อไปหมู่บ้านสันติสุข ถึงวัดศิริสุทโธ อีกประมาณ 12 กม .
หรือใช้เส้นทางอุดร-สกลนคร ประมาน 45 กม. แล้วเลีย้วซ้ายแยกบ้านหนองแม็ก ไป อ. บ้านดุง อีกประมาณ 40 กม . แล้วไปหมู่บ้านสัติสุขถึงวัด ศิริสุทโธอีกประมาณ
12 กม.

วังนาคินทร์คำชะโนด

      วังนาคินทร์คำชะโนด หรือชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า เมืองชะโนด สถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่ระหว่างรอยต่อของตำบลวังทอง ตำลบบ้านม่วงและตำบลบ้านจันทร์อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานีวังนาคินทร์คำชะโนด หรือ เมืองคำชะโนดมีเรื่องเล่ากันมาว่า เจ้าพ่อพญาศรีสุทโธเป็นพญานาค ครองเมืองหนอง
กระแสครึ่งหนึ่งและอีกครึ่งหนึ่งเป็นพญานาคเช่นเดียวกันปกครองมีชื่อว่าสุวรรณนาค และมีบริวารฝ่ายละ 5,000 เช่นเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันมีอาหารการกินก็แบ่งกันกิน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นเพื่อนตายกันตลอดมา แต่มีข้อตกลง
กันอยู่ข้อหนึ่งว่า ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดออกไปหากินล่าเนื้อหาอาหารอีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องออกไปล่าเนื้อหาอาหารเพราะเกรงว่าบริวารไพร่พลจะกระทบกระทั่งกัน และอาจจะเกิดรบรากันขึ้นแต่ให้ฝ่ายที่ออกไปล่าเนื้อหาอาหารนำอาหารที่หามาได้แบ่งกันกินฝ่ายละครึ่ง การกระทำโดยวิธีนี้อยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข
ตลอดมา อยู่มาวันหนึ่งสุวรรณนาคพาบริวารไพร่พลออกไปล่าเนื้อหาอาหารได้ช้างมาเป็นอาหาร ได้แบ่งให้สุทโธนาคครึ่งหนึ่งพร้อมกับนำขนของช้างไปให้ดูเพื่อเป็นหลักฐานต่างฝ่ายต่างกินเนื้ออย่างอิ่มหนำสำราญด้วยกันทั้งสองฝ่าย และวันต่อมาอีกวันหนึ่งสุวรรณนาคได้พาบริวารไพร่พลออกไปล่าเนื้อ
หาอาหารได้เม่นมา สุวรรณนาคได้แบ่งให้สุทโธนาคครึ่งหนึ่งเหมือนเดิม พร้อมทั้งนำขนของเม่นไปให้ดู ปรากฎว่าเม่นตัวเล็กนิดเดียว แต่ขนของเม่นใหญ่เม่นตัวเล็กเมื่อแบ่งเนื้อเม่นให้สุทโธนาคจึงต้องแบ่งให้น้อยสุทโธนาคได้พิจารณาดูขนเม่นเห็นว่าขนาดขนช้างเล็กนิดเดียวตัวยังใหญ่โตขนาดนี้
แต่นี้ขนใหญ่ขนาดนี้ตัวจะใหญ่โตขนาดไหนถึงอย่างไรตัวเม่นจะต้องใหญ่กว่าช้างอย่างแน่นอน คิดได้อย่างนี้จึงให้เสนาอำมาตย์นำเนื้อเม่นที่ได้รับส่วนแบ่งครึ่งหนึ่งไปคืนให้สุวรรณนาคพร้อมกับฝากบอกไปว่า "ไม่ขอรับอาหารส่วนแบ่งที่ไม่เป็นธรรมจากเพื่อนที่ไม่ซื่อสัตย์" ฝ่ายสุวรรณนาคเมื่อได้ยินดังนั้น จึงได้รีบเดินทางไปพบสุทโธนาคเพื่อชี้แจงให้ทราบว่าเม่นถึงแม้ขนมันจะใหญ่โตแต่ตัวเล็กนิดเดียว ขอให้เพื่อนรับเนื้อเม่นไว้เป็นอาหารเสียเถิด สุวรรณนาคพูดเท่าไรสุทโธนาคก็ไม่เชื่อผลสุดท้ายทั้งสองฝ่ายจึงประกาศสงครามกัน ฝ่ายสุทโธนาคซึ่งมีความโกรธเป็นทุนอยู่ตั้งแต่เห็นเนื้อเม่นอยู่แล้วจึงสั่งบริวาร ไพร่พลทหารรุกรบทันที ฝ่ายสุวรรณนาคจึงรีบเรียกระดมบริวารไพร่พลต่อสู้ทันทีเช่นเดียวกัน ตามการบอกเล่าสู่กันฟังมาว่าพญานาค ทั้งสองรบกันอยู่ถึง 7 ปีต่างฝ่ายต่างเมื่อยล้า เพราะต่างฝ่ายต่างหวังจะเอาชนะกันให้ได้ เพื่อจะครองความเป็นใหญ่ในหนองกระแสเพียงคนเดียวจนทำ ให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บริเวณหนองกระแสและบริเวณรอบ ๆ หนองกระแสเกิดความเสียหายเดือดร้อนไปตามกัน
     เมื่อเกิดรบกันรุนแรงที่สุดจนทำให้ พื้นโลกสะเทือนเกิดแผ่นดินไหวทั้งหมด เทวดาน้อยใหญ่ทั้งหลายเกิดความเดือดร้อน ไปทั้งสามภพความเดือดร้อนทั้งหลายได้ทราบไปถึง พระ อินทรา ธิราชผู้เป็นใหญ่ เทวดาน้อยใหญ่ทั้งหลายไปเข้าเฝ้าพระอินทร์เพื่อร้องทุกข์และเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆให้ฟังเมื่อพระอินทร์ได้ทราบเรื่องตลอดแล้ว จะต้อง หาวิธีการให้พญานาคทั้งสองหยุดรบกันเพื่อความสงบสุขของไตรภพจึงได้เสด็จจากดาวดึงส์ ลงมา ยังเมืองมนุษย์โลกที่หนองกระแส แล้วพระอินทร์ตรัส เป็นเทวราชโองการว่า "ให้ท่านทั้งสองหยุดรบกันเดี๋ยวนี้"   การทำสงครามครั้งนี้ถือว่าทุกฝ่ายเสมอกัน และหนองกระแสให้ถือว่าเป็นเขตปลอดสงคราม ให้พญานาคทั้งสองพากันสร้างแม่น้ำคนละสายออกจากหนองกระแสใครสร้างถึงทะเล ก่อนจะ ให้ปลา บึก ขึ้นอยู่ในแม่น้ำแห่งนั้น และให้ถือว่าการทำ สงครามครั้งนี้มีความเสมอกัน      เพื่อป้องกันการทะเลาะวิวาทของพญานาค ทั้งสอง ให้เอาภูเขาพญาไฟ เป็น เขตกั้นคนละฝ่าย ใครข้ามไปราวีรุกรานกันขอ ให้ไฟจากภูเขาดงพญาไฟไหม้ฝ่ายนั้นเป็นจุลมหาจุล เมื่อพระอินทร์ตรัสเป็นเทวราชโองการ ดัง กล่าวแล้วสุทโธนาคจึงพาบริวารไพร่พลอพยพออก จาก หนองกระแสสร้างแม่น้ำมุ่งไปทางทิศตะวันออกของหนองกระแส เมื่อถึงตรง ไหนเป็นภูเขาก็คดโค้ง ไปตามภูเขาหรือ อาจจะลอดภูเขาบ้างตามความยาก ง่ายในการสร้าง เพราะสุทโธนาคเป็นคนใจร้อน แม่น้ำนี้เรียกชื่อว่า "แม่น้ำโขง"คำว่า "โขง" จึงมาจาคำว่า "โค้ง" ซึ่งหมายถึงไม่ตรง ส่วนทางฝั่งลาว เรียกว่า แม่น้ำของ ด้านสุวรรณนาค เมื่อได้รับเทวราชโองการ ดังกล่าวจึงพาบริวารไพร่พลพลอย อพยพออกจากหนองกระแส สร้างแม่น้ำมุ่งไปทางทิศใต้ ของหนองกระแส สุวรรณนาคเป็นคนตรงพิถีพิถันและเป็นผู้มีใจเย็น     การสร้างแม่น้ำจึงต้องทำ ให้ตรงและคิดว่าตรง ๆ จะทำให้ถึงจุดหมายปลายทางก่อน ตนจะได้เป็นผู้ชนะ แม่น้ำนี้เรียกชื่อว่า "แม่น้ำน่าน"แม่น้ำน่าน จึงเป็นแม่น้ำที่มีความตรงกว่า แม่น้ำทุกสายในประเทศไทย    
           การสร้างแม่น้ำแข่งกันในครั้งนั้น ปรากฎว่าสุทโธนาคสร้างแม่น้ำโขงเสร็จก่อนตามสัญญาของพระอินทร์ สุทโธนาคเป็นผู้ชนะและปลาบึกจึงต้องขึ้นอยู่แม่น้ำโขงแห่งเดียวในโลกตามการบอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่า น้ำในแม่น้ำโขงและแม่น้ำในแม่น้ำน่านจะนำมาผสมกันไม่ได้ ถ้าผสมใส่ขวดเดียวกันขวดจะแตกทันที ในกรณีนี้ยังไม่เคยเห็นท่านผู้ใดนำน้ำทั้งสองแห่งนี้มาผสมกันสักที สุทโธนาคเมื่อสร้างแม่น้ำโขงเสร็จแล้ว ปลาบึกขึ้นอยู่แม่น้ำโขงและเป็นผู้ชนะตามสัญญาแล้ว จึงได้แผลงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ณ ดาวดึงส์ ทูลถามพระอินทร์ว่า "ตัวข้าเป็นชาติเชื้อพญานาคถ้าจะอยู่บนโลกมนุษย์นานเกินไปก็ไม่ได้ จึงขอทางขึ้นลงระหว่างบาดาลและโลกมนุษย์เอาไว้ 3 แห่ง และทูลถามว่าจะให้ครอบครองอยู่ตรงแห่งไหนแน่นอน พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่จึงอนุญาตให้มีรูพญานาคเอาไว้ 3 แห่ง คือ

1. ที่ธาตุหลวงนครเวียงจันทน์
2. ที่หนองคันแท
3. ที่พรหมประกายโลก (ที่คำชะโนด)

    ส่วนที่ 1-2 เป็นทางขึ้นลงสู่เมืองบาดาลของพญานาคเท่านั้น ส่วนสถานที่ 3 ที่ พรหมประกายโลกคือที่พรหมได้กลิ่นไอดิน (ตามตำนานพรหมสร้างโลก)แล้วพรหมเทวดาลงมากินดินจนหมดฤทธิ์กลายเป็นมนุษย์หรือผู้ให้กำเนิดมนุษย์ให้สุทโธนาคไปตั้งบ้านเมืองครอบครองเฝ้าอยู่ที่นั้น ซึ่งมีต้นชะโนดขึ้นเป็นสัญลักษณ์ ลักษณะต้นชะโนดให้เอาต้นมะพร้าว ต้นหมากและต้นตาลมาผสมกัน อย่างละเท่า ๆ กันและให้ถือเป็นต้นไม้บรรพกาลให้สุทโธนาคมีลักษณะ 31 วันข้างขึ้น 15 วัน ให้สุทโธนาคและบริวารกลายร่างเป็นมนุษย์เรียกชื่อว่า "เจ้าพ่อพญาศรีสุทโธ" มีวังนาคินทร์คำชะโนดเป็นถิ่น และอีก15 วัน ในข้างแรมให้สุทโธนาคและบริวารกลายร่างเป็นนาค เรียกชื่อว่า "พญานาคราชศรีสุทโธ" ให้อาศัยอยู่เมืองบาดาล

                ตั้งแต่บัดนั้นมาถึงกึ่งพุทธกาล นับแต่ปี พ.ศ. 2500 ถอยหลังไป พี่น้องชาวบ้านม่วง บ้านเมืองไพร บ้านวังทอง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานีจะไปพบเห็นชาวเมืองชะโนดไปเที่ยวงานบุญประจำปี หรือบุญมหาชาติที่ชาวบ้านเรียกว่าบุญพระเวททั้งผู้หญิงและผู้ชายอยู่บ่อยครั้ง และบางทีจะเป็นผู้หญิงไปยืมเครื่องมือทอหูก (ฟืม) ไปทอผ้าอยู่เป็นประจำและปาฏิหาริย์ครั้งล่าสุดคือ ปี พ.ศ.2519 เกิดน้ำท่วมใหญ่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง(รวมทั้งท้องที่อำเภอบ้านดุง) แต่น้ำไม่ท่วมคำชะโนด

     เจ้าพ่อพญาศรีสุทโธได้จัดมีการแข่งเรือและประกวดชายงามที่เมืองชะโนด นายคำตา ทองสีเหลือง ซึ่งเป็นชาวบ้านวังทอง ตำบลวังทอง อำเภอบ้านดุงได้บวชอยู่ที่วัดศิริสุทโธ (วัดโนนตูม และได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อ พ.ศ.2533) ติดกับเมืองชะโนดได้เป็นผู้ได้รับคัดเลือกจากเจ้าพ่อพญาศรีสุทโธให้ไปประกวดชายงาม และบุคคลดังกล่าวเกิดความคลุ้มคลั่งอยู่ประมาณ 1 อาทิตย์ ญาติพี่น้องได้ทำการรักษาโดยใช้หมอเวทมนต์ (อีสานเรียกว่าหมอทำ)จัดเวรยามอยู่เฝ้ารักษาและในที่สุดได้หายไปนาน ประมาณ 6 ชั่วโมง แล้วได้กลับมาและได้เล่าเรื่องเมืองชะโนดให้พ่อแม่พี่น้องทั้งหลายฟังถึงความงามความวิจิตรพิสดารต่าง ๆ ของเมืองบาดาลให้ผู้สนใจฟัง

     ปัจจุบันนี้คำชะโนดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มีชื่อเสียงในระดับประเทศ เรือตรี อนิวรรตน์ พะโยมเยี่ยม อดีตนายอำเภอบ้านดุง ได้ชักชวนข้าราชการทุกฝ่ายตลอดทั้ง ตำรวจ อส. พ่อค้าประชาชนได้ทำสะพานทางเข้าเมืองชะโนด ตลอดทั้งปรับปรุงบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้เป็นสถานที่เคารพสักการะของชาว
อำเภอบ้านดุง และจังหวัดอื่นและจนได้รับการคัดเลือกจากจังหวัดอุดรธานีให้นำน้ำจากบ่อศักดิ์สิทธิ์คำชะโนดไปร่วมงาน พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ณ มณฑลพระราชพิธีท้องสนามหลวงกรุงเทพมหานคร ในวันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม 2530 และในปี พ.ศ.2533 นายมังกร มาเวียง
ปลัดอำเภอบ้านดุง (หัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ) ได้ชักชวนข้าราชการ พ่อค้าประชาชน ผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันจัดทำบุญทอดผ้าป่าสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อความมั่นคงแข็งแรงเข้าไปเมืองชะโนด

ขอบคุณภาพจาก http://www.udonthani.com/chanode.htm 

กว่าจะเป็นเมืองอุดร

กว่าจะเป็นเมืองอุดร

กว่าจะเป็น...อุดรธานีในปัจจุบัน


จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า บริเวณพื้นที่ ที่เป็นจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน เคยเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ 5,000-7,000 ปี จากหลักฐานการค้นพบที่บ้านเชียงอำเภอหนองหานและภาพเขียนสีบนผนังถ้ำที่อำเภอ บ้านผือ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีจนเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการศึกษาประวัติศาสตร์ และโบราณคดีระหว่างประเทศว่าชุมชนที่เป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติ ศาสตร์ที่จังหวัดอุดรธานี มีอารยะธรรมความเจริญในระดับสูง และอาจถ่ายทอดความเจริญนี้ไปสู่ประเทศจีนก็อาจเป็นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่บ้านเชียงนั้นสันนิฐานว่า อาจเป็นเครื่องปั้นดินเผาสีลายที่เก่าที่สุดของโลก

หลังจากยุคความเจริญที่บ้านเชียงแล้ว พื้นที่ที่เป็นจังหวัดอุดรธานี ก็ยังคงเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สืบต่อมาอีกจนกระทั่งสมัยประวัติศาสตร์ของ ประเทศไทย ตั้งแต่สมัยทวาราวดี (พ.ศ.1200-1600)  สมัยลพบุรี (พ.ศ.1200-1800) และสมัยสุโขทัย (พ.ศ.1800-2000) จากหลักฐานที่พบคือใบเสมาสมัยทวาราวดีลพบุรี และภาพเขียนปูนบนผนังโบสถ์ที่ปรักหักพังบริเวณเทือกเขาภูพานใกล้วัดพระ พุทธบาทบัวบกอำเภอบ้านผือ แต่ทั้งนี้ยังไม่ปรากฏหลักฐานชื่อ จังหวัดอุดรธานีปรากฏในประวัติศาสตร์แต่อย่างใด
ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีพื้นที่ที่จังหวัดอุดรธานีปรากฏใน ประวัติศาสตร์ เมื่อราวปีจอ พ.ศ.2117 พระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ทรงเกณฑ์ทัพไทยให้ไปช่วยตีกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) โดยให้สมเด็จพระมหาธรรมราชากับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปช่วยรบ แต่เมื่อกองทัพไทยมาถึงเมืองหนองบัวลำภูซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของเมือง เวียงจันทน์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประชวรด้วยไข้ทรพิษจึงยกทัพกลับไม่ต้องรบ พุ่งกับเวียงจันทน์และเมืองหนองบัวลำภูนี้เองสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองที่มี ความเจริญมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ
ในสมัยกรุงรัตนโกสินเป็นราชธานีนั้น จังหวัดอุดรธานีได้เกี่ยวข้องกับการศึกสงครามกล่าวคือในระหว่าง พ.ศ.2369- 2371 ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมา ซึ่งมีผู้นำคือคุณหญิงโม(ท้าวสุรนารี) กองทัพเจ้าอนุวงศ์ได้ถอยทัพมาตั้งรับที่เมืองหนองบัวลำภู และได้ต่อสู้กับกองทัพไทยและชาวเมืองหนองบัวลำภูจนทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไป กระทั่งในปลายสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่4 ประมาณ พ.ศ.2411 ได้เกิดความวุ่นวายขึ้นในมณฑลลาวพวน เนื่องมาจากพวกฮ่อซึ่งกองทัพไทยได้ยกขึ้นไปปราบปรามจนสงบได้ชั่วคราว
ในปี พ.ศ. 2428 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกฮ่อได้รวมตัวก่อการร้าย กำเริบเสิบสานขึ้นอีกในมณฑลลาวพวนฝั่วซ้ายแมน้ำโขงและมีท่าทีจะรุนแรง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ และเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือไปทำการปราบปรามพวกฮ่อ ในเวลานั้นเมืองอุดรธานียังไม่ปรากฏชื่อเพียงแต่ปรากฏชื่อบ้านหมากแข้งหรือ บ้านเดื่อหมากแข้ง สังกัดเมืองหนองคายขึ้นการปกครองกับมณทลลาวพวน และกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้เดินทัพผ่านบ้านหมากแข้ง ไปทำการปราบปรามพวกฮ่อจนสงบ
ภายหลังการปราบปรามฮ่อสงบแล้วไทยมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เนื่องจากฝรั่งเศสต้องการลาว เขมร ญวณ เป็นอาณานิคม เรียกว่า "กรณีพิพาท ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)" ด้วยพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงยอมเสียสละส่วนน้อยเพื่อรักษาประเทศไว้ จึงทรงสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และตามสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง 2 ประเทศ มีเงื่อนไขห้ามประเทศสยามตั้งกองทหารและป้อมปราการอยู่ในรัศมี 25 กิโลเมตร ของฝั่งแม่น้ำโขง

ดังนั้นหน่วยทหารไทยที่ตั้งประอยู่ที่เมืองหนองคาย อันเป็นเมืองศูนย์กลางของหัวเมือง หรือมณฑลลาวพวน ซึ่งมีกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการ จำต้องอพยพเคลื่อนย้ายลึกเข้ามาจนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อบ้านเดื่อหมาก แข้ง (ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดอุดรธานีปัจจุบัน) ห่างจากฝั่งแม่น้ำโขงกว่า 50 กิโลเมตร เมื่อทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแห่งนี้มีชัยภูมิเหมาะสม เพราะมีแหล่งน้ำดี เช่น หนองนาเกลือ (หนองประจักษ์ ปัจจุบัน) และหนองน้ำพกหลายแห่ง ราวทั้งห้วยหมากแข้ง ซึ่งเป็นลำห้วยน้ำใสไหลเย็น กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงบัญชาให้ตั้งศูนย์มณฑลลาวพวน และตั้งกองทหารขึ้น ณ หมู่บ้านเดื่อหมากแข้ง จึงพอเห็นได้ว่าเมืองอุดรธานีได้อุบัติขึ้นโดยบังเอิญ เพราะเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศยิ่งกว่าเหตุทางการค้า การคมนาคมหรือเหตุผลอื่น ดังเช่นหัวเมืองสำคัญต่างๆ ในอดีต
อย่างไรก็ตาม ว่า "อุดร" มาปรากฏชื่อเมือง พ.ศ.2450 (พิธีตั้งเมืองอุดรธานี 1 เมษายน ร.ศ. 127 พ.ศ. 2450 โดยพระยาศรีสุริยราช วรานุวัตร "โพธิ์ เนติโพธิ์") พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีกระแสพระบรมราชโองการให้จัดตั้งเมืองอุดรธานีขึ้นที่บ้านหมากแข้งอยู่ ในการปกครองของมณฑลอุดร
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบ ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แล้วได้มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ยกเลิกการปกครองในระบบมณฑลในส่วนภูมิภาคยังคงเหลือเฉพาะจังหวัดและอำเภอเท่า นั้นมณฑลอุดรจึงถูกยุบเลิกไปเหลือเพียงจังหวัด "อุดรธานี"เท่านั้น.
 -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
 ขอบคุณภาพจาก : http://www.udonthani.go.th/2014/content.php?p=1


วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จ.อุดรธานี

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ความงามทางธรรมชาติในอุดรธานี

ทำความรู้จักอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เตรียมเสนอชื่อเป็นมรดกโลกในอุดรธานี

            สำหรับจังหวัดอุดรธานี ถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดในภาคอีสานตอนบนที่มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย และ หลังจากที่มีข่าวเรื่อง รัฐเตรียมเสนอ ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี ให้เป็นมรดกโลก วันนี้กระปุกดอทคอมไม่รีรอแวะไปรวบรวมเรื่องน่ารู้ให้เพื่อน ๆ ได้มาทำความรู้จัก "อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท" สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งใหม่ในจังหวัดอุดรธานีให้มากขึ้น พร้อมเตรียมเสนอเป็นมรดกโลกในปี 2559 เร็ว ๆ นี้กันค่ะ

            "อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท" หรือ "อุทยานแห่งชาติภูพระบาท" ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน มีพื้นที่ครอบคลุมกว่า 3,430 ไร่ ในเขตหมู่บ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน ถือเป็นอุทยานที่แสดงถึงอารยธรรมของมนุษย์ รวมทั้งบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกขัดเกลาจากขบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติทำให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่าง ๆ กัน โดยได้ประกาศขึ้นทะเบียนเขตโบราณสถานไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 63 เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2524 และได้พัฒนาเรื่อยมาจนกลายเป็นอุทยานแห่งชาติ หรือ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทในปัจจุบัน ซึ่งภายในอุทยานฯ ได้ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่งดังนี้...

            "พระพุทธบาทบัวบก" อยู่บริเวณทางแยกซ้ายมือก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯ สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463-2477  คำว่า "บัวบก" เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามป่า มีหัว และใบคล้ายใบบัว ชาวบ้านเรียกว่า "ผักหนอก" บัวบกนี้จะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาท จึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า "พระพุทธบาทบัวบก" หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่บก ซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ  60 เซนติเมตร ลงไปในพื้นหินยาว 1.93 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร  เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์พระธาตุพนม มีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบกในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี

             "พระพุทธบาทหลังเต่า" ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระพุทธบาทบัวบก มีลักษณะเป็นรอยพระบาทสลักลึกลงไปในพื้นหิน ลึกประมาณ 25 เซนติเมตร ใจกลางพระบาทสลักเป็นรูปดอกบัว กลีบแหลมนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด และเนื่องจากพระพุทธบาทแห่งนี้อยู่ใกล้กับเพิงหินธรรมชาติรูปร่างคล้ายเต่า จึงได้ชื่อว่า "พระพุทธบาทหลังเต่า"

             และไฮไลท์สำคัญที่นักท่องเที่ยวต้องเดินทางมาชมให้ได้ คือ "หอนางอุสา" ต้นตำนานนิทานพื้นบ้าน เรื่อง นางอุสา-ท้าวบารส ที่ตั้งตระหง่านเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท โดยมีลักษณะเป็นโขดหินลักษณะคล้ายรูปเห็ดตั้งอยู่บนลาน เกิดจากกัดกร่อนตามธรรมชาติ ซึ่งมีความเชื่อว่าในสมัยก่อนมีคนไปดัดแปลงโดยการก่อหินล้อมเป็นห้องขนาดเล็กเอาไว้ที่เพิงหินด้านบน ซึ่งใช้เป็นที่อยู่ของนางอุสา รวมทั้งมีใบเสมาหินขนาดกลางและขนาดใหญ่ปักล้อมรอบโขดหิน และหินทรายจำหลัก พระพุทธรูปศิลปะสมัยทวาราวดี ที่เพิงหินวัดพ่อตา และเพิงหินวัดลูกเขย ถ้ำ และเพิงหินต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นว่า พื้นที่บริเวณนี้เป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ครั้งอดีตกาล ตั้งกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณอุทยานฯ นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมได้ในระยะทางไม่ไกลนัก ได้แก่ ถ้ำลายมือ, ถ้ำโนนสาวเอ้, ถ้ำคน, ถ้ำวัวแดง (ถ้ำเหล่านี้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นที่พำนักของมนุษย์สมัยหิน และมนุษย์เหล่านั้นได้เขียนรูปต่าง ๆ ไว้ เช่น รูปคน, รูปมือ, รูปสัตว์ และรูปลายเรขาคณิต)

             สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจท่องเที่ยว ภายในอุทยานฯ จะมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวให้บริการข้อมูลตลอดจนแผนที่ สอบถามรายละเอียด โทรศัพท์ 0 4225 0616, 0 4225 1350 เปิดให้เข้าชมเวลา 08.00-16.30 น. อัตราค่าเข้าชม นักท่องเที่ยวชาวไทยราคา 10 บาท และชาวต่างชาติ ราคา 30 บาท

             การเดินทาง : อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอุดรธานี 67 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) กิโลเมตรที่ 13 เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2021 ไปทางอำเภอบ้านผือ ระยะทาง 42 กิโลเมตร เลี้ยวขวาประมาณ 500 เมตร และตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 2348 อีก 12 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 2  กิโลเมตร

ที่มา: http://travel.kapook.com/view111213.html
ขอบคุณภาพจาก: http://travel.kapook.com/view111213.html

สวนสาธารณะหนองประจักษ์ จ.อุดรธานี

สวนสาธารณะหนองประจักษ์ จ.อุดรธานี

จังหวัดอุดรธานี เป็นจังหวัดที่มีแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสถานที่ท่องเที่ยวทั้งโบราณสถาน โบราณวัตถุ และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่น่าสนใจ ทริปนี้ จะพาไปสัมผัสธรรมชาติที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์ 
สวนสาธารณะหนองประจักษ์ เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ อยู่ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นสถานที่ออกกำลังกายของประชาชนทั่วไปภายในบริเวณสวนสาธารณะหนองประจักษ์ มีพื้ินที่กว้างใหญ่ รวม 315 ไร่ ประกอบไปด้วย สนามเด็กเล่น สวนสุขภาพ ศาลาสำหรับพักผ่อน สวนพักผ่อน และมีการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ สวยงาม รวมถึงไม้ยืนต้นเพื่อให้ร่มเงาที่ร่มรื่น
ประวัติความเป็นมา หนองประจักษ์ เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ที่มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งเมืองอุดรธานี  เดิมเรียกว่า หนองนาเกลือ  เพื่อเป็นเกียรติแประวัติ แก่ พลตรีพระบรมวงศ์เธอกรมหลวง
ประจักษ์ศิลปาคม ผู้ก่อตั้งเมืองอุดรธานี จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นหนองประจักษ์
ในปี พ.ศ. 2530 เทศบาลนครอุดรธานี ได้ทำการปรับปรุงหนองประจักษ์ขึ้นใหม่ เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ โดยบริเวณตัวเกาะกลางน้ำได้จัดทำสวนหย่อม ปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิด และได้มีการทำสะพานเชื่อมระหว่างเกาะ สวยงามมาก
ในแต่ละวันจะมีประชาชนไปพักผ่อนและออกกำลังกายภายในสวนสาธารณะหนองประจักษ์เป็นจำนวนนับว่าเป็นการบริหารจัดการที่ลงตัวของจังหวัดอุดรธานีที่นำเอาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์เป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อนของประชาชนหลังจากเหน็ดเหนื่อยจากภารกิจการทำงาน
นอกจากสวนสาธารณะหนองประจักษ์จะเป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนของประชาชนทั่วไปแล้ว องค์กรหรือหน่วยงานต่าง จะใช้เป็นสถานที่จัดประเพณี หรือกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่นประเพณีงานลอยกระทง ที่มีการปล่อยโคมลอยดูยิ่งใหญ่มาก
อยู่ตรงหัวมุมใกล้แยกหนองประจักษ์
ความโดดเด่นของสวนสาธารณะหนองประจักษ์ เนื่องจากมีพื้นที่กว้างใหญ่ และได้รับการพัฒนาจากเทศบาลนครอุดรธานี มีการปรับปรุงพื้นทำเป็นถนนรอบๆ บริเวณหนองประจักษ์ เพื่อให้เป็นสถานที่ เดิน วิ่ง ออกกำลังกายของประชาชานทั่วไป 
ต่อมาได้มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ต่างๆและมีเป็ดเหลืองลอยน้ำอยู่กลางสระน้ำด้วย

วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วัดป่าบ้านตาด

วัดป่าบ้านตาด สถานที่ปฏิบัติธรรมของ หลวงตามหาบัว

หลังจากที่ "พระธรรมวิสุทธิมงคล" หรือ "หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน" ได้ละสังขาร เมื่อเวลา03.53 น. วันที่ 30 มกราคม 2554 ที่ วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ขณะที่ญาติโยมและศิษยานุศิษย์จากทั่วทุกสารทิศในประเทศที่ทราบข่าวต่างทยอยเดินทางมากราบสรีระ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ที่ วัดป่าบ้านตาด  เป็นจำนวนมาก ทำให้บริเวณ วัดป่าบ้านตาด แน่นไปด้วยผู้คนนับพัน อย่างไรก็ตาม หลายคนที่อ่านข่าวและอยากร่วมกราบสรีระหลวงตามหาบัว ที่ วัดป่าบ้านตาด และไม่เคยไป วัดป่าบ้านตาด จึงอยากรู้จักเส้นทางไป วัดป่าบ้านตาด และอยากทราบรายละเอียดของ วัดป่าบ้านตาด … วันนี้ขออาสาพาไปรู้จัก วัดป่าบ้านตาด สถานที่ปฏิบัติธรรมของ หลวงตามหาบัว กันค่ะ

ประวัติวัติวัดป่าบ้านตาด

       
วัดป่าบ้านตาด หรือ วัดเกษรศีลคุณ ตั้งอยู่ ณ หมู่บ้านบ้านตาด ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดย วัดป่าบ้านตาด  ห่างจากตัวเมืองอุดรธานีไปทางทิศใต้ ประมาณ 16 กิโลเมตร  ซึ่งหากมาตามทางหลวงหมายเลข 2 อุดรธานี-ขอนแก่น เมื่อรถวิ่งมาได้ประมาณ 7 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณสี่แยกบ้านดงเค็ง ให้เลี้ยวไปทางแยกขวาเข้าไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตร ก็จะถึง วัดป่าบ้านตาด 
          วัดป่าบ้านตาด เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2498 หลังจากที่ชาวบ้านบริจาคที่ดินให้เป็นสถานที่ปฎิบัติธรรม พร้อมกับนิมนต์ให้ หลวงตามหาบัว มาพำนัก เพื่อเป็นที่พึ่งทางใจของชาวบ้าน หลังจากนั้น หลวงตามหาบัว จึงตกลงรับนิมนต์ชาวบ้านมาพำนักที่นี่เพื่อจะได้อยู่ดูแลโยมแม่ที่แก่ชรา พร้อมกับเริ่มสร้างและพัฒนา วัดป่าบ้านตาด และเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2513 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งขึ้นเป็นวัดในพระพุทธศาสนา และให้ชื่อว่า วัดเกษรศีลคุณ แต่ชาวบ้านจะรู้จักและเรียกกันในนาม "วัดป่าบ้านตาด"  
          หลวงตามหาบัว ได้พัฒนาและทำให้ วัดป่าบ้านตาด กลายเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ชาวบ้านให้ความเคารพ เลื่อมใสเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อปี 2540 หรือช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่ หลวงตามหาบัว เจ้าอาวาส วัดป่าบ้านตาด ได้จัดทำโครงการทองคำช่วยชาติ ขอบริจาคเงินและทองคำเข้าคลังหลวง เพื่อเยียวยาทุนสำรองของประเทศที่ได้รับความเสียหายจากการลดค่าเงินบาทในช่วงเวลาดังกล่าว  หลังจากนั้นชื่อของ หลวงตามหาบัว และ วัดป่าบ้านตาด เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น และก็มีญาติโยมและศิษยานุศิษย์ซื้อที่ดินถวาย หลวงตามหาบัว ให้สร้างเป็นสถานที่ปฎิบัติธรรมเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบัน วัดป่าบ้านตาด มีเนื้อที่ประมาณเกือบ 300 ไร่   
          สถานที่ปฏิบัติธรรมที่ วัดป่าบ้านตาด เต็มไปด้วยความร่มรื่นของธรรมชาติ เงียบ สงบ บริเวณรอบ ๆ มีทั้งต้นไม้เขียวชอุ่ม ล้อมรอบด้วยกำแพงคอนกรีต มีประตูเข้า-ออกเป็นประตูใหญ่ ทั้งนี้เพื่อป้องกันสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าของวัดออกมาทำร้ายชาวบ้าน เพราะที่ วัดป่าบ้านตาด มีสัตว์ป่านานาชนิด ภายในบริเวณวัดมีศาลาการเปรียญ ซึ่งเป็นศาลาไม้หลังใหญ่สูง 2 ชั้น  ซึ่งด้านบนศาลานั้น คือ ที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ซึ่งเป็นพระประธานของวัด ทั้งยังใช้เป็นที่แสดงธรรมแก่พระภิกษุสามเณรในวัด และตู้ซึ่งตั้งอยู่ที่ด้านขวาขององค์พระประธานนั้น ก็คือ ที่ประดิษฐานอัฐิธาตุของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของหลวงตามหาบัว รวมทั้งอัฐิธาตุของครูบาอาจารย์องค์อื่น ๆ ส่วนด้านล่างศาลานั้น ถูกใช้เป็นที่สำหรับฉันภัตตาหารเช้า อันเป็นสถานที่ที่หลวงตามหาบัวใช้ในการแสดงธรรมเทศนาและปฏิสันถารกับศรัทธาฆราวาสญาติโยม ที่มาจากทุกสารทิศอย่างไม่ขาดสายไม่เว้นในแต่ละวัน
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน อดีตเจ้าอาวาส วัดป่าบ้านตาด

พระอาจารย์สุดใจ ทนฺตมโน 
เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด แทนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน 

บนศาลา วัดป่าบ้านตาด

พระประธานบนศาลา วัดป่าบ้านตาด

      นอกจากนี้ภายในอาณาบริเวณ วัดป่าบ้านตาด ยังมีกุฏิถาวรอีกประมาณ 10 กว่าหลัง โดยเป็นกุฏิของหลวงตา ภิกษุสูงอายุ กุฏิของญาติโยม ซึ่งมาขออยู่พัก เพื่อปฏิบัติธรรมภาวนากันในช่วงเวลาสั้น ๆ โดยสามารถพักได้ประมาณ 50 - 100 คน และได้ทำการจัดแยกเขตของพระภิกษุสามเณร ญาติโยมชายและหญิงอย่างเป็นระเบียบ นอกจากนี้ หลวงตามหาบัว ได้จัดให้มีการสร้างกุฏิของพระภิกษุสามเณรสำหรับอยู่เพียงองค์เดียว โดยเน้นเรื่องความเรียบง่าย สามารถใช้บังแดด ลม ฝน และป้องกันสัตว์อันตรายได้เท่านั้น  โดยทุกกุฏิจะมีทางสำหรับเดินจงกรม
กุฏิพระเณร วัดป่าบ้านตาด
 แม้วันนี้ หลวงตามหาบัว ได้ละสังขารไปแล้ว แต่คำสอนของท่านยังคงอยู่ในใจลูกศิษย์ทั้งหลายอยู่ โดยเฉพาะเรื่องของความรักชาติที่ท่านได้เป็นต้นแบบให้หลาย ๆ คนได้ทำตาม ถ้าวันนี้ใครที่ต้องการเดินทางไปกราบคารวะหลวงตามหาบัว ก็อย่าแปลกใจหากไม่พบป้ายชื่อวัด เพราะนั่นคือ ปริศนาธรรม ที่หลวงตามหาบัวได้ฝากไว้ให้เราได้คิด ตั้งแต่เริ่มก้าวเข้ามาในวัดนี้....



การเดินทางไป วัดป่าบ้านตาด  

          1. เครื่องบิน  

               - มีเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ - อุดรธานี ทุกวัน วันละ 3 เที่ยวบินดังนี้ 
                    1. เวลา 06.50 น. 
                    2. เวลา 12.30 น. 
                    3. เวลา 18.15 น. 
                - มีเที่ยวบินระหว่างอุดรธานี - กรุงเทพฯ ทุกวัน วันละ 3 เที่ยวบินดังนี้ 
                    1. เวลา 08.40 น. 
                    2. เวลา 14.25 น. 
                    3. เวลา 20.05 น. 
          2. รถไฟ
               - มีการเดินรถระหว่างกรุงเทพฯ - อุดรธานี ทุกวัน โดยออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ ตามเวลาดังนี้
                    1. เวลา 06.00 น. ขบวนรถเร็ว กรุงเทพฯ - หนองคาย
                    2.  เวลา 08.20 น. ขบวนรถดีเซลรางปรับอากาศ กรุงเทพฯ - อุดรธานี 
                    3. เวลา 18.30 น. ขบวนรถเร็ว กรุงเทพฯ - หนองคาย
                    4. เวลา 20.00 น. ขบวนรถดีเซลรางปรับอากาศ กรุงเทพฯ - หนองคาย 
                    5. เวลา 20.45 น. ขบวนรถด่วน กรุงเทพฯ - หนองคาย 
               - มีการเดินรถระหว่างอุดรธานี - กรุงเทพฯ ทุกวัน โดยออกจากสถานีรถไฟอุดรธานี ตามเวลาดังนี้ 
                    1. เวลา 07.26 น. ขบวนรถดีเซลรางปรับอากาศ หนองคาย - กรุงเทพฯ 
                    2.  เวลา 09.15 น. ขบวนรถเร็ว หนองคาย - กรุงเทพฯ 
                    3. เวลา 18.35 น. ขบวนรถดีเซลรางปรับอากาศ อุดรธานี - กรุงเทพฯ 
                    4. เวลา 19.04 น. ขบวนรถเร็ว หนองคาย - กรุงเทพฯ 
                    5. เวลา 20.02 น. ขบวนรถด่วน หนองคาย - กรุงเทพฯ  
          หมายเหตุ : กรุณาตรวจสอบกับการรถไฟแห่งประเทศไทยก่อนการเดินทาง 
          3. รถทัวร์  
               - มีรถบัสปรับอากาศออกจากบริษัททัวร์สายตะวันออกเฉียงเหนือหลายบริษัท ที่สถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร เขตจตุจักร กทม 10900 
          หมายเหตุ : ก่อนเข้าเมืองอุดรธานี ให้ลงบนถนนใหญ่ที่มีป้ายว่า " บ้านคำกลิ้ง " จะมีรถ SKY LAB ( รถมอเตอร์ไซด์ที่มีรถพ่วงสำหรับผู้โดยสารนั่ง ) เข้าไปถึงวัดใช้เวลาเพียง 10 นาที 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก : 

ภูฝอยลม และวนอุทยานน้ำตกธารงาม

สถานที่ท่องเที่ยว ภูฝอยลม
ภูฝอยลม

ฝอยลม ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพานน้อย ที่อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 เมตร อากาศเย็นสบายตลอดปี ชื่อของภูฝอยลมมาจากไลเคนชนิดหนึ่ง คือ "ฝอยลม"ซึ่งเคยพบเกาะอาศัยอยู่ตามกิ่งของต้นไม้ใหญ่ในบริเวณนี้ แต่ปัจจุบันพบได้น้อยลงเนื่องจากป่าถูกบุกรุกจนมีสภาพเสื่อมโทรม ปัจจุบันมีการจัดตั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและ ให้เป็นที่ทัศนศึกษาของประชาชน ประกอบด้วยสวนรวมพรรณไม้ 60 พรรษา มหาราชินี อุทยานโลกล้านปี มีหุ่นจำลองไดโนเสาร์ และพิพิธภัณฑ์แสดงซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ และมีเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติซึ่งจะได้พบป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง สลับป่าทุ่งหญ้า น้ำตกเล็ก ๆ และถ้ำ

อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าพันดอน-ปะโค มีเนื้อที่ 192,350 ไร่ บนเทือกเขาภูพานน้อย เขตตำบลทับกุง ภูฝอยลมจัดเป็นศูนย์ศึกษาธรรมชาติที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในภาคอีสาน มีแปลงปลูกสาธิต บริเวณจุดชมวิวสามารถมองเห็นทิวทัศน์ตัวเมืองอุดรธานี ภูฝอยลมมีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว และสามารถตั้งแคมป์พักแรมได้ มีกิจกรรมเดินป่า 
    การเดินทาง หากเดินทางมาตามเส้นทางขอนแก่น-อุดรธานี เมื่อเลยอำเภอโนนสะอาดมาแล้วจะพบทางแยกซ้ายที่บ้านห้วยเกิ้งไปภูฝอยลม รถยนต์สามารถขึ้นถึงบนภูได้โดยสะดวก
    ใช้เส้นทางอุดรธานี-เลย เลี้ยวเข้าแยกบ้านเหล่ากิโลเมตรที่ 9

ฝอยลมสวัสดิการ ขับตรงเข้ามาตามถนนเรื่อยๆ ยังไม่เลี้ยวไปทางไหน เข้ามาติดต่อเรื่องที่พักก่อน ซึ่งการติดต่อที่พักตะติดต่อที่เดียวกันที่ร้านสวัสดิการ ด้านหน้าร้านประดับตกแต่งด้วยไม้ดอกหลายชนิดปลูกเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ดูคล้ายสวนสัตว์เป็นที่ดึงดูดความสนใจของเด็กๆ ที่เข้ามาเที่ยวบนภูฝอยลม


สวนรวมพรรณไม้ 60 พรรษา มหาราชินี สวนแห่งนี้เป็นสถานที่ที่ได้รับ ความสนใจจากนักท่องเที่ยวมากที่สุด เพราะสามารถขับรถมาจอดแล้วเดินชมสวน หรือจะทานอาหารก็มีร้านสวัสดิการบริการ มีศาลาให้นั่งพักผ่อนนอกสวน
สวนรวมพรรณไม้ 60 พรรษา มหาราชินี  ช่วงเดือนกรกฎาคม สวนแห่งนี้เต็มไปด้วยดอกกระเจียวทั้งสีขาวและสีชมพู ในช่วงเดือนธันวาคม ก็จะมีดอกทิวลิปบานให้ได้ชมกันในงานวันดอกทิวลิปบานที่ภูฝอยลม ส่วนช่วงอื่นๆ เราก็จะได้พบกับไม้ดอกอีกหลายชนิดผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาปลูกให้เราได้ชม ไม่เบื่อ





กังหันลมภูฝอยลม ในระหว่างเทศกาลงานทิวลิปบานที่ภู ฝอยลม มีการสร้างกังหันลมเพิ่มสีสันเข้าไปในสวนรวมพรรณไม้ 60 พรรษา มหาราชินี แม้ว่างานทิวลิปบานได้ผ่านพ้นไปแล้ว กังหันลมนี้ก็ยังคงตั้งอยู่ให้เราได้เอามาใช้เป็นฉากสวยๆ ในการถ่ายรูปต่อไป

สถานที่พักผ่อน นักท่องเที่ยวจำนวนมากที่ภูฝอยลม ส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ใกล้เคียงและจังหวัดใกล้เคียงเดินทางมาพักผ่อนแบบ ครอบครัว สวนรวมพรรณไม้ 60 พรรษา มหาราชินี เป็นสถานที่แรกๆ ที่คนจะเข้ามาชมความสวยงามและพักผ่อนตามจุดต่างๆ ในพื้นที่ที่ค่อนข้างกว้างขวางมากๆ แต่ในเวลากลางวันจะแดดร้อน ส่วนหนึ่งในบริเวณสวนมีจุดสำหรับนักพักผ่อนหลบแดด เป็นต้นไม้ใหญ่หลายต้นมีลานกว้างๆ ให้นั่งได้อย่างสบาย ร่มเงาของต้นไม้ทำให้ไม่ร้อนแดด แต่ที่ดีกว่านั้นคือกล้วยไม้หลากสีหลายพันธุ์ที่อยู่บริเวณโคนต้นไม้ ช่วยเพพิ่มสีสันระหว่างการนั่งหลบแดดของเราได้เป็นอย่างดี หากมีเสื่อมาปูเห็นทีว่าจะหลับได้อย่างรวดเร็ว


ร้านอาหารใกล้สวนรวมพรรณไม้

พุทธสถานภูฝอยลม  
จากสวนหย่อมข้างสนามกีฬา


จำลองมนุษย์ถ้ำภูฝอยลม ในระหว่างที่ป่ายปีนก้อนหินมุ่งหน้าลงเชิงเขา กลับไปยังอาคารค่ายเยาวชน ก็ต้องตกใจสุดขีดเพราะมีความรู้สึกว่ามองเห็นอะไรบางอย่างคล้ายคนแต่ตัวเป็น สีเขียวเข้มอยู่ใต้หลืบหิน พอมองดูให้ดีจึงได้รู้ว่าเป็นรูปปั้นที่สร้างขึ้นเพื่อจำลองการดำรงชีวิตของ มนุษย์ถ้ำในอดีตที่ผ่านมา

จากจุดแสดงหุ่นจำลองมนุษย์ถ้ำ มีทางเดินลงไปเรื่อยๆ จนถึงเชิงเขา มีรูปปั้นสัตว์ต่างๆ มากมาย เป็นบริเวณที่เรียกว่าพันธุ์สัตว์ป่า เพื่อให้เด็กๆ มาชมกัน รูปปั้นสัตว์เหล่านี้กระจายอยู่ในพื้นที่ป่าโปร่ง เหมือนสวนสัตว์เปิดเลยครับ

พิพิธภัณฑ์ล้านปีภูฝอยลม



ชมดอกไม้สวยภูฝอยลม 


วนอุทยานน้ำตกธารงาม
   อยู่ในเขตป่าขุนห้วยสามพาด-ขุนห้วยกองสี อยู่ในท้องที่ตำบลหนองแสง กิ่งอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี อุทยานน้ำตกธารงามแบ่งได้ 3 ฤดู คือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม


วนอุทยานน้ำตกธารงาม ไม่มีบ้านพักไว้บริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเดินทางไปพักแรม โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาตกับหัวหน้าวนอุทยานน้ำตกธารงามโดยตรง หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายจัดการวนอุทยาน สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ขอบคุณภาพจาก : http://maneerut2330.blogspot.com/2013/01/blog-post_21.html